สังคมไทยมีภาพวาดทำนองเดียวกันกับภาพการ์ตูนมานานแล้ว
อาทิ ภาพวาดตามฝาผนังโบสถ์ซึ่งมักจะเป็นภาพประกอบหาใช่เนื้อหาจริงของภาพ
ภาพจากสมุดข่อย ภาพบนฝาตู้พระธรรม
เป็นต้น แต่ยังไม่อาจเรียกเป็นภาพการ์ตูนได้
มีผู้รู้ตั้งกฎเกณฑ์ว่าหากมีการทำแม่พิมพ์ ตีพิมพ์ภาพซ้ำกันหลายๆ ภาพนำเผยแพร่สู่สาธรณชน จนควรเรียนกว่าภาพการ์ตูนได้
มีผู้รู้ตั้งกฎเกณฑ์ว่าหากมีการทำแม่พิมพ์ ตีพิมพ์ภาพซ้ำกันหลายๆ ภาพนำเผยแพร่สู่สาธรณชน จนควรเรียนกว่าภาพการ์ตูนได้
ตัวการ์ตูนไทยตัวแรกที่ตีพิมพ์ในหนังสือไทยคือ
หัวหนังสือชื่อ ดรุโณวาท เล่ม 1 นำเบอร์ 1 วันอังคาร เดือน 8 แรมเก้าค่ำ ปีจอ ฉอศกจุลศักราช 1236
ตรงกับ พ.ศ. 2417 จึงอาจกล่าวได้ว่าตัวการ์ตูนไทยมีอายุถึงปีนี้ได้
120 กว่าปีแล้ว
ก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยมักจะมีตัวหนังสือเป็นพื้น
เนื่องจากไม่มีผู้ทำแม่พิมพ์เป็น
หากมีการตีพิมพ์ภาพ
จะใช้วิธีแกะไม่ได้เพียงภาพหยาบๆ
เท่านั้นหรือมิฉะนั้นก็ส่งภาพไปทำแม่พิมพ์โลหะถึงประเทศอินเดีย
ถึงระยะต้นรัชกาลที่ 6
ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิตเป็นคนไทยคนแรกที่เริ่มเปิดร้านทำแม่พิมพ์โลหะที่เรียกกันว่าบล๊อกขึ้น
ตั้งชื่อร้านว่าฮาล์ฟโทนบรรดาโรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ใหญ่เล็กทั้งหลายนิยมส่งภาพไปทำบล๊อกนำมาตีพิมพ์ประกอบข่าว
ทำให้หนังสือน่าอ่านขึ้นมาก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในการหนังสือพิมพ์มาก
ทรงวาดภาพฝีพระหัตถ์เป็นการ์ตูนล้อพวกข้าราชบริพารลงในหนังสือดุสมิต
นอกจากนั้นในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ มีภาพเขียนประกอบเรื่องฝีมือขอพระยาอนุศาสน์
จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) อีกมากมาย
จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) อีกมากมาย
ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิตก็วาดภาพการ์ตูนล้อการเมืองลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์
ครั้นต่อมาหนังสือพิมพ์ยามาโต
ของนายไอคี ยาคาวา ชาวญี่ปุ่นที่มาทำหนังสือพิมพ์ขายในเมืองไทยก็ตีพิมพ์ภาาพการ์ตูนล้อการเมืองบ้าง โดยฝีมือของ
ธัญญะอุทธถานนท์ใช้นามปากกาว่า ธัญญ ตามหน้าหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับ นำโดยครูฟื้น รอดอริห์ และสวัสดิ์ จูทะรพ ผู้ให้กำเนิดตัวการ์ตูนขุนหมื่น โดยวาดลงในหนังสือพิมพ์ศรีกรุง
และสยามราษฎร์ในราว พ.ศ.2477 นักวาดการ์ตูนอีกผู้หนึ่งซึ่งไม่อาจจะลืมไปได้คือ คุณฉันท์ สุวรรณะบุณย์ วาดการ์ตูนเรื่องป๋องกับเปรียว ลงในหนังสือพิมพ์เดลิเมล์เป็นประจำ
ของนายไอคี ยาคาวา ชาวญี่ปุ่นที่มาทำหนังสือพิมพ์ขายในเมืองไทยก็ตีพิมพ์ภาาพการ์ตูนล้อการเมืองบ้าง โดยฝีมือของ
ธัญญะอุทธถานนท์ใช้นามปากกาว่า ธัญญ ตามหน้าหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับ นำโดยครูฟื้น รอดอริห์ และสวัสดิ์ จูทะรพ ผู้ให้กำเนิดตัวการ์ตูนขุนหมื่น โดยวาดลงในหนังสือพิมพ์ศรีกรุง
และสยามราษฎร์ในราว พ.ศ.2477 นักวาดการ์ตูนอีกผู้หนึ่งซึ่งไม่อาจจะลืมไปได้คือ คุณฉันท์ สุวรรณะบุณย์ วาดการ์ตูนเรื่องป๋องกับเปรียว ลงในหนังสือพิมพ์เดลิเมล์เป็นประจำ
ยังมีสามจิตรกรผู้ครองใจนักอ่าน คนแรกคือ
เฉลิม วุฒิโฆสิต บรรณาธิการนักวาดภาพปกภาพประกอบ คนที่สองคือ เสน่ห์ คล้ายเคลื่อน
และคนสุดท้าย ครูเหม เวชกร ทั้งคู่เป็นนักวาดภาพปก ภาพประกอบ แต่ครูเหม
มักจะเน้นหนักด้านสะท้อนภาพความเป็นไทย พยายามเก็บรักษาประวัติศาสตร์ชาติไทยเอาไว้
จึงมีผู้กล่าวถึงครูเหมอยู่เสมอ
ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
คุณวิตต์ สุทธเสถียร วาดภาพการ์ตูนลงในหนังสือพิมพ์สยามโครนิเคิล
ตีพิมพ์ภาษาอังกฤษ
การ์ตูนของคุณวิตต์จึงต้องบรรยายเป็นภาษาอังกฤษตามไปด้วยเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติขึ้นทั้งในยุโรปกับเอเชีย
ส่งผลให้กิจการหนังสือพิมพ์ต้องซบเซาและหยุดกิจการไปหลายฉบับครั้นสงครามโลกสงบลงเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในตอนนี้จึงมีนักกวาดภาพฝีมือเกิดขึ่นมาในวงการหนังสือหลายคนอาทิ
คุณประยูร จรรยาวงษ์ คุณพิมน กาฬสีห์ หรือตุ๊กตา
คุณสงบ แจ่มพัฒน์ หรือแจ๋วแหวว คุณพนม สุวรรณะบุณย์ หรือตุ๊ดตู่ เป็นต้น
คุณสงบ แจ่มพัฒน์ หรือแจ๋วแหวว คุณพนม สุวรรณะบุณย์ หรือตุ๊ดตู่ เป็นต้น
ช่วงปี
พ.ศ. 24496 ถึง 2505 จัดเป็นยุคทองของการ์ตูนไทยโดยแท้
เนื่องจากมีนักวาดภาพฝีมือดีมากมายช่วยกันสร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนที่มีคุณภาพ
อีกทั้งภาพประกอบภาพปก ก็มีการวาดแข่งขันฝีมือ โดยมีนักอ่านเป็นผู้ตัดสิน
นอกจากการ์ตูนไทยแล้ว ยังมีหนังสือการ์ตูนจากยุโรปและสหรัฐฯ ใส่คำบรรยายภาษาไทย
การ์ตูนพวกนี้ชวนให้เด็กไทยหูกว้างตาไกลขึ้น
ได้รู้จักประเพณีและวัฒนธรรมของชาตะวันตกไปในตัว
ในขณะที่หนังสือการ์ตูนผลิบานบนแผงหนังสือนั้น
ความบันเทิงอีกรูปแบบหนึ่งก็เยือนมาถึงบ้านเรือน
นั่นคือโทรทัศน์จากกระแสการเรียกร้องขอมีเครื่องรับโทรทัศน์ไว้ดูของสมาชิกในครอบครัว
ก็มีส่วนในการตัดสินซื้อหนังสือของหัวหน้าครอบครัวเช่นกัน
ยังผลให้ตลาดหนังสือการ์ตูนทรุดฮวบลงทันทีหนังสือการ์ตูนที่เคยประดับหน้าแผงก็พลัดลดทีละเล่มสองเล่มสถานการณ์เช่นนี้ทำให้นักวาดภาพการ์ตูนต้องปรับเปลี่ยนเพื่อความอยู่รอด
ด้วยการวางมือจากงานการ์ตูน
กลับเข้าทำงานประจำตามบริษัทบ้าง ตามสำนักพิมพ์ตำราบ้างอย่างไรก็ดียังมีหนังสือการ์ตูนตุ๊กตา เบบี้ และหนูจ๋า เป็นต้น
กลับเข้าทำงานประจำตามบริษัทบ้าง ตามสำนักพิมพ์ตำราบ้างอย่างไรก็ดียังมีหนังสือการ์ตูนตุ๊กตา เบบี้ และหนูจ๋า เป็นต้น
ความบันเทิงเล็กๆ น้อยๆ
สำหรับเด็กไทยได้จากภาพยนตร์การ์ตูนที่ฉายทางโทรทัศน์ส่วนใหญ่
ก็หนีไม่พ้นการ์ตูนญี่ปุ่น จึงมีผู้ทำหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น
เสริมขึ้นมาจากหนังสือการ์ตูน
ในเวลาเพียงไม่กี่ปีหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นก็สามารถยึดครองแผงหนังสือได้สำเร็จ
ดังนั้น ทุกวันนี้เราจึงเห็นหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น มีคำบรรยายเป็นภาษาไทยแพร่หลายอยู่ทั่วประเทศเด็กไทยตั้งแต่วัยเริ่มเรียน นักเรียนชั้นประถมชั้นมัธยมแม้ชั้นอุดมศึกษาก็ถือหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นควบคู่ไปกับตำราเรียน
ดังนั้น ทุกวันนี้เราจึงเห็นหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น มีคำบรรยายเป็นภาษาไทยแพร่หลายอยู่ทั่วประเทศเด็กไทยตั้งแต่วัยเริ่มเรียน นักเรียนชั้นประถมชั้นมัธยมแม้ชั้นอุดมศึกษาก็ถือหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นควบคู่ไปกับตำราเรียน
เมื่อสิ้นยุคทอง
จึงถือเป็นยุคมืดของการ์ตูนไทย
เพราะภาพรวมส่วนใหญ่ของการ์ตูนไทยนอกจากจะหยุดนิ่งแล้วยังมีแต่สูญหายไปเรื่อยๆ
เริ่มจากการล้มหายตายจากของนักวาดภาพรุ่นเก่า การเสื่อมสลาย ตามกาลเวลาของหนังสือและสุดท้ายคือ
การสาบสูญไปจากความทรงจำของผู้อ่านหนังสือการ์ตูนต่างวัยผลก็คือเยาวชนที่กำลังเป็นวัยรุ่น
และวัยหนุ่มสาวของไทย มักจะไม่เคยได้รู้เห็นถึงผลงานขอองคนรุ่นก่อน
ปัจจุบัน
หนังสือการ์ตูนของไทยเรามีหลงเหลืออยู่บนแผงอยู่บ้าง บางส่วนก็มีการพัฒนาไปเป็นหนังสือเด็ก
ตีพิมพ์ภาพสีสวยๆ
ที่เป็นหนังสือนิตยสารสารคดีกึ่งการ์ตูนก็มีหลายเล่มแต่ก็ยังคาดหวังไม่ได้ว่าการ์ตูนไทยยังจะคงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น