ประวัติ ของเณรน้อย เจ้าปัญญา อิคคิวซัง
อิ๊กคิวซังมีชื่อในวัยเด็กว่า "เซนงิกามารุ" เกิด 1 ม.ค. ค.ศ.1349 หรือ พ.ศ.1892 เมืองซะกะโน
ใกล้เมืองเกียวโต พ่อเป็นจักรพรรดิฝ่ายเหนือ แม่เป็นเจ้าหญิงในราชวงศ์ฝ่ายใต้ ซึ่งถูกขับจากวังตั้งแต่อิ๊กคิวซังยังไม่คลอด
เพราะถูกฝ่ายตรงข้ามใส่ร้ายป้ายสี ต่อมาทรงให้อิ๊กคิวซังบวชที่วัดอังโกะกุจิ
ตอนอายุได้ 6 ขวบ เพื่อหนีภัยการเมือง ได้ฉายาว่า "ชูเคน"
ท่านตั้งอกตั้งใจศึกษาพระธรรม ความเจ้าปัญญาฉายแววขึ้นตามอายุ ในวัยประมาณ 10 ขวบ อิ๊กคิวซังแต่งกลอน วิพากษ์วิจารณ์ความประพฤติที่ไม่เหมะสม ของพระภิกษุนิกายหนึ่งที่กอบโกยทรัพย์สินยศฐาบรรดาศักดิ์ บนความทุกข์ยากของชาวบ้าน
พออายุ 13 ปี มีโอกาสเข้าพบแม่ทัพใหญ่ชื่อ "อาซิคะงะโยชิมิสึ" หรือ "ท่านโชกุน" ในการ์ตูน
อายุได้ 17 ปี อิ๊กคิวซังาออกจากวัดอังโกะกุจิ ฝากตัวเป็นศิษย์ของ "หลวงพ่อเคนโอ" ที่วัดไซกอนจิ ได้ฉายาว่า "โชจุน" ที่วัดแห่งนี้หลวงพ่อเคนโอเน้นการปฏิบัติโดยต้องทำงานอย่างหนัก และต้องอยู่กับสิ่งสกปรกเสียส่วนใหญ่
ต่อมาหลวงพ่อมรณภาพ อิ๊กคิวซังจึงเดินทางไปวัด "อิชิยามา" อดอาหาร 7 วัน 7 คืน สวดมนต์อุทิศส่วนบุญส่วนกศลให้อาจารย์ต่อหน้าพระโพธิสัตว์ ด้วยความเสียใจนี้เอง จึงคิดฆ่าตัวตาย
ระหว่างที่เดินลงไปแม่น้ำเซตะ อิ๊กคิวซังจึงอธิษฐานจิตว่า
"ถ้าพระโพธิสัตว์ต้องการให้ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ ก็ขอให้ข้าพเจ้าฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ แต่หากชีวิตข้าพเจ้าไร้ซึ่งคุณค่าเสียแล้ว ข้าพเจ้าขออุทิศสังขารให้เป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำ"
ระหว่างที่ดิ่งลงในท้องน้ำ อิ๊กคิวซังก็นึกถึงหน้าท่านแม่และคำสอนขึ้นมาทันใด "เป็นลูกผู้ชายต้องไม่ย่อท้อ" อิ๊กคิวซังจึงตะเกียกตะกายกลับขึ้นฝั่ง
หลังจากนั้นท่านอายุได้ 23 ปี ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อ "คะโซ" แห่งวัดโคอัน ซึ่งเป็นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ แต่พอใจที่จะใช้ชีวิตอย่างสมถะและพอใจในวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและหนักหน่วง
อิ๊กคิวซังต้องทำงานทั้งวัน และปฏิบัติอย่างหนักหน่วง นอกจากใช้แรงงานในวัดแล้ว อิ๊กคิวซังยังต้องสานรองเท้า เย็บเสื้อผ้าตุ๊กตาผู้หญิง และออกไปขายแรงงานในหมู่บ้านละแวกนั้น ซ้ำยังโดนพระรุ่นพี่ที่ไม่ชอบหน้ากลั่นแกล้ง ทำร้าย เตะต่อยอยู่เสมอ แต่อิ๊กคิวซังก็อดทน
ในที่สุดความพยายามที่จะค้นหาสัจธรรมก็สำเร็จ เมื่ออิ๊กคิวซังสามารถแก้ปริศนาธรรมที่หลวงพ่อคะโซตั้งไว้ได้สำเร็จ ด้วยวัยเพียง 25 ปีเท่านั้น และที่นี่เองที่ "พระโชจุน" ได้รับฉายาใหม่ว่า "อิ๊กคิว โซจุน" หมายความว่า "รู้พ้นจากโลกสมมติตามบัญญัติของลัทธิเซน"
อิ๊กคิวซังน่าจะเป็นพระภิกษุที่บรรลุธรรมเมื่ออายุยังน้อยที่สุดรูปหนึ่งใน พระพุทธศาสนา เพราะว่าท่านสามารถบรรลุธรรมในขณะที่นั่งสมาธิบนเรือริมฝั่งทะเลสาบ"เหตุแห่งความทุกข์และความเศร้าหมองที่เกิดขึ้นในชีวิตล้วนเกิดจากจิตที่เต็มไปด้วยอัตตา"
คือแก่นธรรมที่ท่านค้นพบ
เมื่อทราบว่าอิ๊กคิวซังสามารถบรรลุแก่นธรรม หลงพ่อคะโซมีความประสงค์ ที่จะมอบใบสำเร็จเปรียญธรรม และตำแหน่งเจ้าอาวาสให้อิ๊กคิวซังสืบทอด แต่อิ๊กคิวซังปฏิเสธด้วยเหตุผลว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งสมมติ"
ท่านจึงออกธุดงค์
กระทั่งอายุ 34 ปี อิ๊กคิวซังมีโอกาสเข้าเฝ้าท่านพ่อ ซึ่งเป็นองค์จักรพรรดิ
ชีวิตช่วงนี้เองที่เป็นที่กล่าวขวัญถึง และขยาดหวาดกลัวและเกลียดชังจากภิกษุด้วยกัน
อิ๊กคิวซังเคยไปร่วมงานครอบรอบวันมณภาพของพระผู้ใหญ่รูปหนึ่งด้วยสภาพมอมแมม สกปรก จีวรหลุดลุ่ย พร้อมทั้งด่าทอพระที่มือถือสากปากถือศีล เพราะในสมัยนั้นมีพระภิกษุชั้นผู้ใหญ่จำนวนมากที่ทำตัวเคร่งพระวินัย ถึงขนาดบอกว่าผู้หญิงเป็นมารศาสนา แต่ว่ากลับลักลอบให้แม่เล้า-แมงดานำโสเภณีมาบำเรอถึงในกุฏิ นอกจากนี้อิ๊กคิวซังยังต่อต้านพระผู้มีอิทธิพลมีหลายรูปที่หลอกชาวบ้านว่าจะ สามารถบรรลุธรรมได้หากบริจาคปัจจัยให้พระมากๆ
อิ๊กคิวซังปฏิเสธสังคมพระในขณะนั้นอย่างรุนแง และทำทุกอย่างที่ถือว่าเป็นอาบัติ เช่นดื่มสุรา เล่นการพนัน ฉันเนื้อสัตว์(????)ไม่โกนผม+หนวดเครา เดินเข้าออกซ่องโสเภณีอย่างเปิดเผยเป็นว่าเล่น
การกระทำแบบนี้อิ๊กคิวซังต้องการต่อ้าน และเสียดสี รวมทั้งสั่งสอนพระจอมปลอมในยุคนั้ให้ละอายกับการลวงโลก อิ๊กคิวซังคบหาและปฏิบัติกับโสเภณีอย่างเปิดเผย สุภาพและให้เกียรติ เคยแบ่งส้มจากบาตรให้ เคยปีนเขาเสี่ยงตายไปหาสมุนไพรมารักษาโสเภณี ที่ป่วยหนักแม้ว่าต่อมาจะเสียชีวิตก็ตาม
เมื่อท่านอายุได้ 75 พรรษา ระหว่างที่ธุดงค์เร่ร่อน หลบภัยสงครามภายในประเทศมาอยู่ที่เมืองซึมิโยชิ
ท่านได้พบกับ "โมริ" ศิลปินขอทานตาบอด ซึ่งภายหลังท่านได้รับนางเป็นภรรยา ทั้งคู่ได้ใช้ชีวิตร่วมกันคืนเดียว โมริก็หนีไปเพราะเกิดความอับอาย และเกรงว่าตนเองจะทำให้อิ๊กคิวซังเสื่อมเสียชื่อเสียง แต่นางก็กลับมาหาอิ๊กคิวอีกหนเพราะไม่สามารถดำรงชีวิตลำพังได้ในสภาวะสงคราม
เมื่ออายุได้ 85 ตจักรพรรดิแต่งตั้งให้อิ๊กคิวซังเป็น เจ้าอาวาสวัดไดโตะกุจิ ซึ่งเป็นวัดหลวงที่สำคัญที่สุดในสมัยนั้น เมื่อไม่สามารถขัดพระราชประสงค์ได้ อิ๊กคิวซังจึงยอมรับตำแหน่ง แต่เพียงแค่วันเดียวก็ลาออก กลับมาอยู่วัดเมียวโชจิที่ท่านสร้างจวบจนวาระสุดท้าย
หลังจากกลับมาอยู่วัดนี้ ได้เพียง 2 ปี ท่านเป็นมาเลเรีย ท่านละสังขารในทานั่งสมาธิ ในอ้อมกอดของโมริ ภรรยาสุดที่รัก ในเวลา 21 พฤศจิกายน ค.ศ.1481 หรือ พ.ศ.2024 เมื่ออายุได้ 88 ปี
ท่านตั้งอกตั้งใจศึกษาพระธรรม ความเจ้าปัญญาฉายแววขึ้นตามอายุ ในวัยประมาณ 10 ขวบ อิ๊กคิวซังแต่งกลอน วิพากษ์วิจารณ์ความประพฤติที่ไม่เหมะสม ของพระภิกษุนิกายหนึ่งที่กอบโกยทรัพย์สินยศฐาบรรดาศักดิ์ บนความทุกข์ยากของชาวบ้าน
พออายุ 13 ปี มีโอกาสเข้าพบแม่ทัพใหญ่ชื่อ "อาซิคะงะโยชิมิสึ" หรือ "ท่านโชกุน" ในการ์ตูน
อายุได้ 17 ปี อิ๊กคิวซังาออกจากวัดอังโกะกุจิ ฝากตัวเป็นศิษย์ของ "หลวงพ่อเคนโอ" ที่วัดไซกอนจิ ได้ฉายาว่า "โชจุน" ที่วัดแห่งนี้หลวงพ่อเคนโอเน้นการปฏิบัติโดยต้องทำงานอย่างหนัก และต้องอยู่กับสิ่งสกปรกเสียส่วนใหญ่
ต่อมาหลวงพ่อมรณภาพ อิ๊กคิวซังจึงเดินทางไปวัด "อิชิยามา" อดอาหาร 7 วัน 7 คืน สวดมนต์อุทิศส่วนบุญส่วนกศลให้อาจารย์ต่อหน้าพระโพธิสัตว์ ด้วยความเสียใจนี้เอง จึงคิดฆ่าตัวตาย
ระหว่างที่เดินลงไปแม่น้ำเซตะ อิ๊กคิวซังจึงอธิษฐานจิตว่า
"ถ้าพระโพธิสัตว์ต้องการให้ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ ก็ขอให้ข้าพเจ้าฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ แต่หากชีวิตข้าพเจ้าไร้ซึ่งคุณค่าเสียแล้ว ข้าพเจ้าขออุทิศสังขารให้เป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำ"
ระหว่างที่ดิ่งลงในท้องน้ำ อิ๊กคิวซังก็นึกถึงหน้าท่านแม่และคำสอนขึ้นมาทันใด "เป็นลูกผู้ชายต้องไม่ย่อท้อ" อิ๊กคิวซังจึงตะเกียกตะกายกลับขึ้นฝั่ง
หลังจากนั้นท่านอายุได้ 23 ปี ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อ "คะโซ" แห่งวัดโคอัน ซึ่งเป็นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ แต่พอใจที่จะใช้ชีวิตอย่างสมถะและพอใจในวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและหนักหน่วง
อิ๊กคิวซังต้องทำงานทั้งวัน และปฏิบัติอย่างหนักหน่วง นอกจากใช้แรงงานในวัดแล้ว อิ๊กคิวซังยังต้องสานรองเท้า เย็บเสื้อผ้าตุ๊กตาผู้หญิง และออกไปขายแรงงานในหมู่บ้านละแวกนั้น ซ้ำยังโดนพระรุ่นพี่ที่ไม่ชอบหน้ากลั่นแกล้ง ทำร้าย เตะต่อยอยู่เสมอ แต่อิ๊กคิวซังก็อดทน
ในที่สุดความพยายามที่จะค้นหาสัจธรรมก็สำเร็จ เมื่ออิ๊กคิวซังสามารถแก้ปริศนาธรรมที่หลวงพ่อคะโซตั้งไว้ได้สำเร็จ ด้วยวัยเพียง 25 ปีเท่านั้น และที่นี่เองที่ "พระโชจุน" ได้รับฉายาใหม่ว่า "อิ๊กคิว โซจุน" หมายความว่า "รู้พ้นจากโลกสมมติตามบัญญัติของลัทธิเซน"
อิ๊กคิวซังน่าจะเป็นพระภิกษุที่บรรลุธรรมเมื่ออายุยังน้อยที่สุดรูปหนึ่งใน พระพุทธศาสนา เพราะว่าท่านสามารถบรรลุธรรมในขณะที่นั่งสมาธิบนเรือริมฝั่งทะเลสาบ"เหตุแห่งความทุกข์และความเศร้าหมองที่เกิดขึ้นในชีวิตล้วนเกิดจากจิตที่เต็มไปด้วยอัตตา"
คือแก่นธรรมที่ท่านค้นพบ
เมื่อทราบว่าอิ๊กคิวซังสามารถบรรลุแก่นธรรม หลงพ่อคะโซมีความประสงค์ ที่จะมอบใบสำเร็จเปรียญธรรม และตำแหน่งเจ้าอาวาสให้อิ๊กคิวซังสืบทอด แต่อิ๊กคิวซังปฏิเสธด้วยเหตุผลว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งสมมติ"
ท่านจึงออกธุดงค์
กระทั่งอายุ 34 ปี อิ๊กคิวซังมีโอกาสเข้าเฝ้าท่านพ่อ ซึ่งเป็นองค์จักรพรรดิ
ชีวิตช่วงนี้เองที่เป็นที่กล่าวขวัญถึง และขยาดหวาดกลัวและเกลียดชังจากภิกษุด้วยกัน
อิ๊กคิวซังเคยไปร่วมงานครอบรอบวันมณภาพของพระผู้ใหญ่รูปหนึ่งด้วยสภาพมอมแมม สกปรก จีวรหลุดลุ่ย พร้อมทั้งด่าทอพระที่มือถือสากปากถือศีล เพราะในสมัยนั้นมีพระภิกษุชั้นผู้ใหญ่จำนวนมากที่ทำตัวเคร่งพระวินัย ถึงขนาดบอกว่าผู้หญิงเป็นมารศาสนา แต่ว่ากลับลักลอบให้แม่เล้า-แมงดานำโสเภณีมาบำเรอถึงในกุฏิ นอกจากนี้อิ๊กคิวซังยังต่อต้านพระผู้มีอิทธิพลมีหลายรูปที่หลอกชาวบ้านว่าจะ สามารถบรรลุธรรมได้หากบริจาคปัจจัยให้พระมากๆ
อิ๊กคิวซังปฏิเสธสังคมพระในขณะนั้นอย่างรุนแง และทำทุกอย่างที่ถือว่าเป็นอาบัติ เช่นดื่มสุรา เล่นการพนัน ฉันเนื้อสัตว์(????)ไม่โกนผม+หนวดเครา เดินเข้าออกซ่องโสเภณีอย่างเปิดเผยเป็นว่าเล่น
การกระทำแบบนี้อิ๊กคิวซังต้องการต่อ้าน และเสียดสี รวมทั้งสั่งสอนพระจอมปลอมในยุคนั้ให้ละอายกับการลวงโลก อิ๊กคิวซังคบหาและปฏิบัติกับโสเภณีอย่างเปิดเผย สุภาพและให้เกียรติ เคยแบ่งส้มจากบาตรให้ เคยปีนเขาเสี่ยงตายไปหาสมุนไพรมารักษาโสเภณี ที่ป่วยหนักแม้ว่าต่อมาจะเสียชีวิตก็ตาม
เมื่อท่านอายุได้ 75 พรรษา ระหว่างที่ธุดงค์เร่ร่อน หลบภัยสงครามภายในประเทศมาอยู่ที่เมืองซึมิโยชิ
ท่านได้พบกับ "โมริ" ศิลปินขอทานตาบอด ซึ่งภายหลังท่านได้รับนางเป็นภรรยา ทั้งคู่ได้ใช้ชีวิตร่วมกันคืนเดียว โมริก็หนีไปเพราะเกิดความอับอาย และเกรงว่าตนเองจะทำให้อิ๊กคิวซังเสื่อมเสียชื่อเสียง แต่นางก็กลับมาหาอิ๊กคิวอีกหนเพราะไม่สามารถดำรงชีวิตลำพังได้ในสภาวะสงคราม
เมื่ออายุได้ 85 ตจักรพรรดิแต่งตั้งให้อิ๊กคิวซังเป็น เจ้าอาวาสวัดไดโตะกุจิ ซึ่งเป็นวัดหลวงที่สำคัญที่สุดในสมัยนั้น เมื่อไม่สามารถขัดพระราชประสงค์ได้ อิ๊กคิวซังจึงยอมรับตำแหน่ง แต่เพียงแค่วันเดียวก็ลาออก กลับมาอยู่วัดเมียวโชจิที่ท่านสร้างจวบจนวาระสุดท้าย
หลังจากกลับมาอยู่วัดนี้ ได้เพียง 2 ปี ท่านเป็นมาเลเรีย ท่านละสังขารในทานั่งสมาธิ ในอ้อมกอดของโมริ ภรรยาสุดที่รัก ในเวลา 21 พฤศจิกายน ค.ศ.1481 หรือ พ.ศ.2024 เมื่ออายุได้ 88 ปี
ประวัติ ของเณรน้อย เจ้าปัญญา อิคคิวซัง
http://board.palungjit.com/f10/ประวัติ-ของเณรน้อย-เจ้าปัญญา-อิ๊กคิวซัง-7244.html
http://board.palungjit.com/f10/ประวัติ-ของเณรน้อย-เจ้าปัญญา-อิ๊กคิวซัง-7244.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น